Welcome... to Computer in Business
   

   

กระดาษทำการและงบการเงิน

กระดาษทำการ (Work Sheet)

     กระดาษทำการ (Work Sheet) คือ ร่างงบการเงินที่ผู้จัดทำบัญชีนำงบทดลองมาปิดบัญชีเพื่อเตรียมจัดทำงบการเงินให้สะดวกรวดเร็วและถูกต้อง ก่อนที่จะนำเสนอในรูปแบบงบการเงิน ได้แก่ กระดาษทำการ 6 ช่อง กระดาษทำการ 8 ช่อง กระดาษทำการ 10 ช่อง

1.  ประโยชน์ของกระดาษทำการ

- ช่วยตรวจสอบความถูกต้องของยอดเงินในบัญชี เพราะกระดาษทำการรวมยอดบัญชีทั้งหมดในช่องงบทดลอง
- ช่วยในการปรับปรุงบัญชีให้ง่ายขึ้น ทำให้ยอดเงินถูกต้องหลังปรับปรุงซึ่งจะนำไรแสดงในงบกำไรขาดทุนและงบดุลได้ถูกต้อง
- ช่วยในการจัดทำงบกำไรขาดทุนและงบดุลได้สะดวก รวดเร็ว และถูกต้อง เนื่องจากสามารถนำบัญชีที่แสดงในช่องงบกำไรขาดทุน และงบดุลไปจัดแสดงในงบได้เลย
- ช่วยในการปิดบัญชีให้รวดเร็วและถูกต้อง โดยสามารถนำตัวเลขที่ปรับปรุงแล้วไปแสดงการปิดบัญชีได้
- ทำให้ทราบผลการดำเนินงานว่ามีกำไรหรือขาดทุนก่อนจัดทำงบการเงิน

งบการเงิน (Financial Statement)

     งบการเงิน (Financial Statement) หมายถึง งบที่แสดงผลการดำเนินงานของกิจการในรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่ง และแสดงฐานะทางการเงินของกิจการ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งประกอบด้วยงบกำไรขาดทุนและงบดุล

     1.  งบกำไรขาดทุน (Income Statement) หมายถึง งบที่แสดงผลการดำเนินงานของกิจการในระยะเวลาที่กำหนด แต่ต้องไม่เกิน 1 ปีเพื่อวัดผลการเนินงานของกิจการว่ามีรายได้และค่าใช้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นเท่าใด เมื่อนำรายได้หักด้วยค่าใช้จ่ายแล้วจะเป็นกำไรสุทธิ หรือขาดทุนสุทธิเท่าใดซึ่งใช้วัดความสามารถในการดำเนินงานของกิจการ งบกำไรขาดทุนมีวิธีทำ 2 รูปแบบ คือ แบบบัญชีและแบบรายงาน

1.1 งบกำไรชาดทุนแบบบัญชี จะแสดงรายการ 2 ด้าน คือ ด้านซ้ายแสดงค่าใช้จ่าย และด้านขวาแสดงรายได้

1.2 งบกำไรขาดทุนแบบรายงาน จะแสดงได้ 2 รูปแบบ คือ

-  งบกำไรขาดทุนแบบชั้นเดียว
-  งบกำไรขาดทุนแบบหลายชั้น

     2.  งบดุล (Balance Sheet) หมายถึง งบที่แสดงฐานะการเงินของกิจการว่ามีสินทรัพย์หนี้สินและส่วนของเจ้าของเท่าใด ณ วันใดวันหนึ่ง ซึ่งแสดงถึงสภาพคล่องของกิจการว่ามีสินทรัพย์มากกว่าหนี้สินเท่าใด งบดุลมีวิธีทำ 2 รูปแบบ คือ แบบบัญชีและแบบรายงาย

-  งบดุลแบบบัญชี จะแสดงรายการ 2 ด้าน คือ ด้านซ้ายแสดงทรัพย์สิน และด้านซ้ายแสดงหนี้สินและส่วนของเจ้าของ
-  งบดุลแบบรายงาน จะแสดงตามประเภทบัญชี ซึ่งจะแสดงเรียงตามลำดับประเภทบัญชี คือ สินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ ซึ่งเป็นแบบที่ยอมรับทั่วไป

 

 
เว็บไซต์นี้เป็นส่วนหนึ่งของ รายวิชาโครงการ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี ครูที่ปรึกษา ครูสุดฤดี ประทุมชาติ ปีการศึกษา 2563