Welcome... to Computer in Business
   


ประโยชน์การนำระบบชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-payment) ประโยชน์ e-payment ในองคร์การ

     1.  การสั่งชำระเงิน และการรับชำระเงินมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น ด้วยระบบ e-pay ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปชำระเงินด้วยวิธีการเดิม ๆ อีกต่อไป สามารถประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่นค่าใช้จ่ายด้านบุคคลากร และเวลาที่เสียไปจากการเดินทางรวมถึงความเสียงจากการถือเงินสด เป็นต้น      2.  เพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารการเงินเนื่องจากการบริการ e–pay เป็นการชำระเงินแบบ Online และ Real Time จึงเพิ่มความสะดวกในกรณีที่ต้องการสั่งชำระเงินเป็นกรณีเร่งด่วนโดยไม่จำเป็นต้องเดินทางเพื่อไปชำระเงิน เหมือนระบบเดิมโดยผู้รับเงินสามารถรับเงินและนำเงินไปบริหารต่อได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 นาทีโดยไม่ต้องรอการ เคลียร์ริ่งของธนาคาร ถือเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารเงินสดของ บริษัท อีกทางหนึ่ง

      3.  ลดความผิดพลาดในการกรอกข้อมูลการทำรายการ ระบบ e-pay จะดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลมาใช้เช่นเลขที่บัญชีผู้มีอำนาจในการสั่งจ่ายวงเงินในการสั่งจ่ายเป็นต้นทำให้ สามารถทำงานได้รวดเร็วและลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดพิมพ์เอกสารได้ทำให้การดำเนินงานทางด้านบัญชี และการเงินของ บริษัท จึงมีความสะดวกรวดเร็วและถูกต้องมากยิ่งขึ้น

     4.  การยืนยันการตัดบัญชีและการนำเงินเข้าบัญชีไม่ว่าจะเป็นผู้สั่งชำระเงินหรือรับชำระเงินก็จะได้รับข้อความยืนยัน การตัดบัญชี (Dent Advice) และข้อความยืนยันการนำเงินเข้าบัญชี (Credit Advice) จากธนาคารผ่านระบบ e – pay เมื่อรายการชำระเงินเสร็จสมบูรณ์โดยไม่ต้องสอบถามผลของการทำรายการไปที่ธนาคารโดยตรง

      5.  เสริมสร้างความคล่องตัวในการทำงานสามารถเลือกใช้บริการกับธนาคารต่าง ๆ ที่เข้าร่วมให้บริการหรือ เปลี่ยนแปลงไปใช้ธนาคารอื่นในภายหลังก็ทำได้อย่างสะดวกโดยไม่ต้องเปลี่ยนโปรแกรมหรือขั้นตอนการทำงาน แต่อย่างใด

การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการเงินการธนาคาร


     สถาบันการเงินต่าง ๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ได้แข่งขันการนำคอมพิวเตอ์มาใช้เพื่อประโยชน์สำคัญ 3 ประการ คือประการที่หนึ่ง เพื่อช่วยให้บริการลูกค้าประจำได้สะดวกรวดเร็วประการที่สอง เพื่อให้สามารถเสนอบริการใหม่ ๆ ในรูปแบบและเวลาที่ลูกค้าประจำต้องการละให้ลูกค้าประจำสามารถเข้าใจได้โดยง่ายประการที่สามเพื่อช่วยให้สามาร ถบรรลุวัตถุประสงค์สองข้อแรก โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายมากเกินไปงานสถาบันการเงินการธนาคารที่นำคอมพิวเตอร์มาช่วยนั้น นอกจากด้านการบัญชีและด้านการบริหาร ซึ่งอาจคล้ายคลึงกับการใช้คอมพิวเตอร์ในหน่วยงานอื่น ๆ แล้วก็มีงานโดยตรงของสถาบันการเงินและการธนาคารเช่นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการฝากถอนหรือพนักงานรับและจ่ายเงิน (teller) ใช้คอมพิวเตอร์ในการโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์การหักบัญชีอัตโนมัติด้านสินเชื่อด้านแลกเปลี่ยนเงินตราบริการ ข่าวสารการธนาคารบริการฝากถอนเงินนอกเวลาและบริการอื่น ๆ

     1.  การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในบริการฝากถอน อาจรวมการฝากถอนทุกประเภทเช่นเดินสะพัดเพื่อเรียกสะสม และประจำเป็นต้นโดยมีเทอร์มินัลติดตั้งอยู่ที่โต๊ะพนักงานฝากถอนเมื่อลูกค้ามาฝากหรือถอนพนักงานก็สามารถใช้ เทอร์มินัลสอบถามสถานภาพบัญชีและลงบัญชีได้สะดวกรวดเร็ว
     2.  การใช้คอมพิวเตอร์ในการโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ มีประโยชน์สำคัญ 3 ประการคือ
ประการแรก เพื่อลดต้นทุนโดยตัดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกระดาษ
ประการที่สอง เพื่อความปลอดภัยในการโอนเงิน โดยป้องกันเช็คสูญหาย หรือการปลอมแปลงเช็ค
ประการที่สาม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ โดยทำให้สามารถโอนเงินได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่นาที
     3.  การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านสินเชื่อ ช่วยให้สามารถวิเคราะห์สินเชื่อได้อย่างรวดเร็วว่าควรให้ลูกค้ารายใดกู้หรือไม่ ช่วยให้สามารถบริหารงานด้านสินเชื่อได้อย่างสะดวกรวดเร็วเช่น ช่วยคำนวณดอกเบี้ยออกใบกำกับสินค้าและออก ใบเสร็จรับเงินเป็นต้น
     4.  การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เริ่มด้วยการสอบถามอัตราแลกเปลี่ยนใน ต่างประเทศคำนวณเงินจากสกุลหนึ่งไปเป็นอีกสกุลหนึ่งจัดทำบัญชีรายการแลกเปลี่ยนและบัญชีเช็คเดินทางจนถึงการ ชี้แนะว่าควรจะเก็บเงินสกุลใดไว้มากน้อยเท่าใดเป็นการเก็งกำไรถ้าสามารถวิเคราะห์แนวโน้มของอัตราแลกเปลี่ยนได้ โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยตัดสินใจ
     5.  การใช้คอมพิวเคอร์ให้บริการข่าวสารการธนาคาร เป็นการชยายข่าวสารการธนาคาร ด้าน คอมพิวเตอร์ เช่น ข่าวสารเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย ข่าวการเงิน ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวตลาดการเงิน ข่าวตลาดหลักทรัพย์ ข่าวตลาดน้ำมัน และข่าวการเดินเรือ ตัวอย่างบริการข่าวสาร การธนาคารที่มีใช้กันทั่วโลก คือ รอยเตอร์มอนิเตอร์
(Reuter monitor)

     6. เครื่องบริการเงินด่วน (ATM) การใช้คอมพิวเตอร์ในบริการฝากถอนเงินนอกเวลานั้นกงกันทั้งในต่างประเทศและใน ประเทศไทยซึ่งเรียกชื่อกันว่าบริการเงินด่วนหรือบริการเอทีเอ็ม(ATM)ส่วนการใช้คอมพิวเตอร์ในด้านอื่นๆของธนาคารก็ มีอีกหลายอย่าง เช่น บริการโอน เงิน ณ จุดขาย บริการ ธนาคารในบ้านและบริการธนาคารทางโทรศัพท์ เป็นต้น

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการจัดการทางการเงิน

     ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (financial information System) ระบบการเงิน (financial system) เปรียบเสมือนระบบหมุนเวียนโลหิตของร่างกายที่สูบฉีดโลหิตไปยังอวัยวะต่าง ๆ เพื่อให้การทำงานของอวัยวะแต่ละส่วนเป็นปกติถ้าระบบหมุนเวียนโลหิตไม่ดีการทำงานของอวัยวะก็บกพร่องซึ่งจะส่งผล

     1.  การพยากรณ์ (Forecast) การศึกษาวิเคราะห์การคาดการณ์การกำหนดทางเลือกและการวางแผนทางด้านการเงิน ของธุรกิจเพื่อใช้ทรัพยากรทางการเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยนักการเงินสามารถใช้หลักการทางสถิติและแบบ จำลองทางคณิตศาสตร์มาประยุกต์การพยากรณ์ทางการเงินจะอาศัยข้อมูลจากทั้งภายในและภายนอกองค์การตลอด จนประสบกราณ์ของผู้บริหารในการตัดสินใจ

      2. การจัดการด้านการเงิน (inancial management) เกี่ยวข้องกับเรื่องการบริหารเงินใจโดยวิธีการทางการเงินเช่น การกู้ยืมการออกหุ้นหรือตราสารทางการเงินอื่นเป็นต้นภายนอก (external control) เกิดประโยชน์สูงสุดเช่นรายรับและ รายจ่ายการหาแหล่งเงินทุนจากภายนอกเพื่อที่จะเพิ่มทุนขององค์การ โดยวิธีการทางการเงิน เช่น การกู้ยืม หารออกหุ้น หรือตราสารทางการเงินอื่น เป็นต้น

      3. การควบคุมทางการเงิน (Financial system) เพื่อติดตามผลตรวจสอบและประเมินความเหมาะสมในการ ดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือไม่ตลอดจนวางแนวทางแก้ไขหรือปรับปรุงให้การดำเนินงานทางการเงินของ ธุรกิจมีประสิทธิภาพโดยที่การตรวจสอบและการควบคุมการทางการเงินของธุรกิจจำแนกออกได้ 2 ประเภท คือ การควบคุมภายใน(internal control) และการควบคุมภายนอก (external control)ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (financial information System) เป็นระบบสารสนเทศระบบสารสนเทศด้านการบัญชีและระบบสารสนเทศด้านการเงิน จะมีความสัมพันธ์กันเนื่องจากข้อมูลทางการบัญชีจะเป็นข้อมูลสำหรับการประมวลผลและการตัดสินใจทางการเงินโดย นักการพัฒนาขึ้นสำหรับสนับสนุนกิจกรรมทางด้านการเงินขององค์การตั้งแต่การวางแผนการดำเนินงานและ การควบคุมทางด้านการเงินเพื่อให้การจัดการทางการเงินเกิดประสิทธิภาพสูงสุดโดยที่แหล่งข้อมูลสำคัญใน การบริหารเงินขององค์การมีดังต่อไปนี้     
1. ข้อมูลจากการดำเนินงาน (operating data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติงานของธุรกิจซึ่งเป็นประโยชน์ในการ ควบคุมตรวจสอบและปรับปรุงแผนการเงินขององค์การ
2. ข้อมูลจากการพยากรณ์ (forecasting data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมและประมวลผลเช่นการประมาณ
ค่าใช้จ่าย และยอดขายที่ได้รับจากแผนการตลาดโดยใช้เทคนิคและแบบจำลองการพยากรณ์โดยที่ข้อมูลจากการ พยากรณ์ถูกใช้ประกอบการวางแผนการศึกษาความเป็นไปได้และการตัดสินใจลงทุน
3. กลยุทธ์องค์การ (corporate strategy) เป็นเครื่องกำหนดและแสดงวิสัยทัศน์ภารกิจวัตถุประสงค์แนวทางการ ประกอบธุรกิจในอนาคตเพื่อให้องค์การบรรลุเป้าหมายที่ต้องการโดยที่กลยุทธ์จะเป็นแผนหลักที่แผนปฏิบัติการอื่นต้อง ถูกจัดให้สอดคล้อง และส่งเสริมความสำเร็จของกลยุทธ์
4. ข้อมูลจากภายนอก (external data) ข้อมูลทางเศรษฐกิจและการเงินสังคมการเมือง และปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อ ธุรกิจ เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นต้น โดยข้อมูลจากภายนอกจะแสดง แนวโน้มในอนาคตที่ธุรกิจต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์

     ระบบสารสนเทศด้านการบัญชีและระบบสารสนเทศทางการเงินจะมีความสัมพันธ์กัน เนื่องจากข้อมูลทางการบัญชีจะ เป็นข้อมูลสำหรับการประมวลผล และการตัดสินใจทางการเงิน โดยนักการเงินจะนำตัวเลขทางการบัญชีมาประมวลผล ตามที่ตนต้องการ เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจทางการเงินระบบสารสนเทศทางการเงิน ทำหน้าที่หลักทางการเงิน (finance) เกี่ยวกับการคาดการณ์ทางการเงิน ได้แก่ แสดงจำนวนเงินที่จะเข้าสู่กิจการแหล่งที่มาการใช้จ่าย การจัดการเงินทุนเช่นแหล่งเงินทุน การกู้ ออกพันธบัตรเงินกู้ ออกหุ้น รวมกิจการและ การตรวจสอบ เช่น งบรายได้ งบกำไรขาดทุน งบดุล


ระบบสารสนเทศทางการเงิน (finance) การจัดทำรายงานทางการเงิน การลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ


1.  หน้าที่หลักทางการเงิน
2.  แหล่งสารสนเทศทางการเงิน
3.  ตัวอย่างระบบสารสนเทศทางการเงิน

     ระบบสารสนเทศทางการเงินนี้จะทำหน้าที่ในการจัดการสารสนเทศด้านการเงินให้แก่ผู้บริหาร และกลุ่มบุคคลซึ่งต้อง การทำการตัดสินใจได้ดีขึ้น และช่วยในการหาโอกาส และปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วโดยระบบสารสนเทศด้านการ เงินนิยมใช้รวมเข้ากับซอฟต์แวร์ในการวางแผนทรัพยากรขององค์กร (Enterprise Resource Planning-ERP) ซึ่งเป็นกลุ่ม ของโปรแกรมที่จัดการวิเคราะห์ และติดตามการดำเนินธุรกิจของแหล่งผลิตหรือสาขาต่าง ๆ ขององค์กรเพื่อให้แน่ใจว่า สารสนเทศด้านการเงิน ในการปฏิบัติงานสามารถนำไปใช้สนับสนุนความสามารถในการตัดสินใจให้แก่บุคคลที่ต้องการ ได้ทันเวลาระบบสารสนเทศ เพื่อการจัดการด้านการเงินมีความสามารถการทำงานดังต่อไปนี้

     1.  รวบรวมสารสนเทศด้านการเงินและการดำเนินงานจากแหล่งต่าง ๆ รวมทั้งจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้าไว้ใน
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเพียงระบบเดียว
     2.  สนับสนุนผู้ใช้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับด้านการเงินและผู้ใช้อื่น ๆ ของ บริษัท ให้สามารถเรียกใช้ข้อมูลและสารสนเทศ
ทางด้านการเงินผ่านทางเครือข่ายในองค์กรได้ง่าย
     3.  เตรียมข้อมูลด้านการเงินที่มีอยู่ให้พร้อมต่อการใช้งาน เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
     4.  สามารถวิเคราะห์ข้อมูลด้านการเงินได้หลายมิติ เช่น วิเคราะห์ตามช่วงเวลา, ภูมิประเทศ, ผลิตภัณฑ์, โรงงานผลิตหรือลูกค้าได้
     5.  วิเคราะห์การดำเนินงานด้านการเงินที่ผ่านมาและที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้
     6.  ติดตามและควบคุมการใช้เงินทุนได้ตลอดเวลา

ส่วนที่นำเข้าไปในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการเงิน ได้แก่


     1.  แผนเชิงกลยุทธ์และนโยบายของ บริษัท ในแผนกลยุทธ์จะประกอบด้วยวัตถุประสงค์ด้านการเงินของ บริษัท เช่น เป้าหมายของผลกำไรที่ต้องการ, อัตราส่วนของหนี้สินและเงินกู้ค่าคาดหวังของผลตอบแทนที่ต้องการ เป็นต้น
     2.  ระบบประมวลผลรายการสารสนเทศด้านการเงินที่สำคัญจะมาจากโปรแกรมการประมวลผลรายการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมเงินเดือน, โปรแกรมควบคุมสินค้าคงคลัง, โปรแกรมสั่งซื้อสินค้า, โปรแกรมบัญชีรายรับ-รายจ่าย, และโปรแกรมใบสั่งซื้อทั่วไปโดยข้อมูลที่ได้จากโปรแกรมเหล่านี้ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายด้านเงินเดือนรวม
     3.  แหล่งข้อมูลภายนอก ได้แก่ สารสนเทศเกี่ยวกับคู่แข่งขันอาจได้มาจากรายงานประจำปีของ บริษัท คู่แข่ง,
หนังสือพิมพ์,สื่อต่าง ๆ เช่นเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นต้นนอกจากนี้ยังรวมถึงสารสนเทศเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจ
ของประเทศหรือของโลกเช่นสภาวะเงินเฟ้อ, อัตราภาษีเหล่านี้ เป็นต้น

ระบบย่อยและผลที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการเงิน

      ระบบย่อยในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการเงิน ขึ้นอยู่กับองค์กรและความต้องการขององค์กรนั้น โดยอาจประกอบด้วยระบบภายในและระบบภายนอกที่ช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการประมวลผลทางธุรกิจของ บริษัท เช่นระบบการจัดหา, การใช้, และการควบคุมเงินสด, ระบบเงินทุนและแหล่งการเงินอื่น ๆ และอาจจะประกอบด้วยระบบย่อยในการหากำไร ขาดทุน, ระบบบัญชีค่าใช้จ่ายและระบบการตรวจสอบโดยระบบต่าง ๆ เหล่านี้จะทำงานประสานกับระบบประมวลผลรายการเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ผู้จัดการด้านการเงินสามารถนำไปใช้ตัดสินใจได้ดีขึ้น ดังนั้นผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการเงิน ได้แก่ รายงานด้านการเงินต่าง ๆ เช่นรายงานกำไร / ขาดทุน, รายงานระบบค่าใช้จ่าย, รายงานการตรวจสอบภายในและภายนอกและรายงานการใช้และการจัดการเงินทุน เป็น


 

 
เว็บไซต์นี้เป็นส่วนหนึ่งของ รายวิชาโครงการ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี ครูที่ปรึกษา ครูสุดฤดี ประทุมชาติ ปีการศึกษา 2563