Welcome... to Computer in Business
   

การนำคอมพิวเตอร์ช่วยงานด้านเงิน

ความสำคัญในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานด้านการเงิน

      O’brien ได้ให้นิยามไว้ว่าระบบสารสนเทศทางการเงินหมายถึงระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนงานของนัก บริหารธุรกิจในการตัดสินใจเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเงินรวมทั้งการจัดสรรและควบคุมทรัพยากรทางการเงินของธุรกิจ

จัดการทางการเงิน

     เคียวน์, มาร์ติน, เพดดีและสก็อตได้ให้นิยามไว้ว่าการจัดการทางการเงินหมายถึงกระบวนการซึ่งเกี่ยวข้องกับการ รักษาไว้และการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจตลอดจนการตัดสินใจทางการเงินเพื่อสร้างความมั่งคั่งสูงสุดให้แก่ บริษัท และผู้ถือหุ้น

ขอบเขตงานทางการเงิน

มัลลิกาต้นสอนและอดิศักดิ์พันธ์หอมได้จำแนกขอบเขตานทางการเงินออกเป็น 3 ส่วนดังนี้



1. ตลาดการเงินจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับสถาบันทางการเงินหรือแหล่งจัดหาเงินทุนอื่น ๆ โดยจำแนกเป็น
- ตลาดเงินคือตลาดที่จำหน่ายหลักทรัพย์รวมทั้งตราสารที่อายุไม่เกิน 1 ปี
- ตลาดทุนคือตลาดที่จำหน่ายหลักทรัพย์รวมทั้งตราสารที่อายุเกิน 1 ปีโดยจำแนกเป็นตลาดแรกและตลาดรอง
2.  การลงทุนเป็นการตัดสินใจการลงทุนโดยคำนึงถึงการใช้เงินทุนที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดมาว่าจะ
เป็นการซื้อขายหรือการครอบครองสินทรัพย์
3.  การเงินธุรกิจเป็นการจัดการทางการเงินในองค์การ

หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหารการเงิน (The Financial Responsibilities)

    ไม่ว่าธุรกิจจะมีรูปแบบองค์กรเป็นอย่างไรก็ตามจะเป็นกิจการขนาดเล็กขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ผู้บริหารการเงินจะ มีหน้าที่หลักในการบริหารเพื่อทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่กิจการนั่นหมายถึงการบริหารเพื่อให้เกิดผลกำไรและขยายกิจการ ให้เกิดความเจริญเติบโตในอนาคตอันจะส่งผลให้เกิดมูลค่าเพิ่มสูงสุดแก่กิจการ (Maximizing value of the Firm) ดังนั้นหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหาร Staffs การเงินจะมี 5 ประการคือ

     1. หน้าที่ในการพยากรณ์และวางแผน (Forecasting and Planning) ผู้บริหารการเงินจะมีหน้าที่ในการประสานงานกับ ฝ่ายต่าง ๆ ขององค์กรเพื่อรับข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการพยากรณ์และวางแผนทางการเงินซึ่งการพยากรณ์และการวางแผนสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
- การพยากรณ์และการวางแผนการเงินระยะสั้น
- การพยากรณ์และการวางแผนการเงินระยะยาว

     2.  หน้าที่ในการตัดสินใจลงทุนและจัดหาเงินทุน (Investment and Financial Decision) ปัญหาการตัดสินใจ
ของผู้บริหารการเงินแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

- ปัญหาการตัดสินใจระยะสั้นเช่นปัญหาในกรณีที่กิจการจะทำการผลิตชิ้นส่วนเองหรือซื้อปัญหาว่าควรขายสินค้าหรือ ผลิตต่อแล้วขายหรือปัญหาว่าควรยกเลิกสินค้าที่มีผลขาดทุนหรือไม่
-  ปัญหาการตัดสินใจระยะยาวซึ่งหมายถึงโครงการลงทุนต่าง ๆ เช่นการสร้างโรงงานแห่งใหม่เพื่อทดแทนโรงงานเดิม
การผลิตสินค้าใหม่เพิ่มเติมเป็นต้นไม่ว่าจะเป็นปัญหาระยะสั้นหรือระยะยาว
     3.  หน้าที่ในการประสานงานและควบคุม (Coordination and Control) ในการปฏิบัติงานผู้บริหารการเงิน
จะต้องประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ ในการดำเนินกิจการเพื่อมั่นใจว่ากิจการจะมีผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพการตัดสินใจทุก ๆ ด้านของกิจการจะต้องมีส่วนสัมพันธ์หรือมีผลกับเรื่องของการเงินเสมอเช่นการตัดสินใจด้านการ ตลาดเกี่ยวกับการออกผลิตภัณฑ์ใหม่จะมีผลกระทบต่อความต้องการในการขยายการลงทุนการจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม

     4. หน้าที่ในการเป็นตัวแทนองค์กรทาการติดต่อกับตลาดการเงิน (Dealing with the Financial Market) ผู้บริหารการเงิน จำเป็นต้องติดต่อตลาดการเงินเพื่อการระดมทุนโดยสามารถแบ่งตลาดการเงินออกได้เป็น 3 ตลาดดังนี้
- ตลาดการเงิน (The Financial Market)
- ตลาดเงิน (Money Market)
- ตลาดทุน (Capital Market)
     ทำหน้าที่ในการระดมเงินทุนระยะสั้นที่มีอายุการชำระหนี้ไม่เกิน 1 ปีแหล่งเงินทุนหรือสถาบันที่ทำหน้าที่เป็นตลาดเงิน ได้แก่เจ้าหนี้การค้าเงินเบิกเกินบัญชี (overdraft account) ตลาดรับซื้อคืน Reperchase Market)

     5.หน้าที่ในการบริหารความเสี่ยง (Risk Management) กิจการทุก ๆ แห่งต้องเผชิญกับความเสี่ยง 2 ลักษณะคือ
- ความเสี่ยงนอกระบบ (Unsystematic Risk)
- ความเสี่ยงภายในระบบ (Systematic Risk)

     

เป้าหมายทางการเงิน


1. กำไรสูงสุดมักจะเน้นถึงประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรโดยไม่คำนึงถึงการวัดผลกำไรของ บริษัท แต่อย่างไร
2. ความมั่งคั่งสูงสุดมุ่งเน้นถึงมูลค่าตลาดของหุ้นสามัญที่สูงขึ้นรวมทั้งอัตราเงินปันผลที่จ่ายให้ผู้ถือหุ้น


การตัดสินใจทางการเงิน


1. การตัดสินใจด้านการลงทุนโดยเริ่มต้นจากการกำหนดทรัพย์สินที่ บริษัท จำเป็นต้องใช้และจำนวนเงินลงทุนในทรัพย์
สินทั้งหมดที่บ่งบอกถึงขนาดของบริษัท
2. สารสนเทศทางการเงินสารสนเทศทางการเงินหมายถึงสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลของระบบสารสน
เทศทางการเงินซึ่งต้องอาศัยข้อมูลและสารสนเทศจากทั้งภายในและภายนอกองค์การตลอดจนสารสนเทศด้านอัตรา
ดอกเบี้ยอัตราแลกเปลี่ยนและนโยบายทางการเงินของรัฐบาลโดยใช้สารสนเทศเหล่านี้สนับสนุนกิจกรรมทางการเงิน

     

การจำแนกประเภท


1. สารสนเทศเชิงปฏิบัติการคือสารสนเทศที่ได้จากการปฏิบัติงานด้านการรับและการจ่ายเงินสดการจัดหาและการใช้ทุน ตลอดจนการลงทุนในสินทรัพย์ 2. สารสนเทศเชิงบริหารคือสารสนเทศที่ใช้สนับสนุนงานการบริหารและการจัดการทางการเงิน
3. กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ ระบบวางแผนทางการเงิน คือ ระบบที่มุ่งเน้นถึงการจัดการสินทรัพย์ทางการเงินที่เหมาะสมโดยมีการวางแผนด้านการ จัดหาเงินทุนจากแหล่งต่าง ๆ ตลอดจนมีการใช้เงินทุนที่จัดหามาได้เพื่อการดำเนินงานและการลงทุนภายในกิจการอีกทั้ง ยังต้องมีการวางแผนทางการเงินในระยะสั้นระยะปานกลางและระยะยาวจำแนกได้เป็น 3 ระบบย่อยดังนี้
1. ระบบพยากรณ์ทางการเงิน
2. ระบบงบประมาณเงินสด
3. ระบบงบประมาณลงทุน


2. ระบบจัดการทางการเงิน มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความมั่งคั่งสูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้นซึ่งจะต้องอาศัยปัจจัยหลายด้าน ประกอบกันเพื่อการบรรลุผลตามวัตถุประสงค์สามารถจำแนกได้เป็น 4 ระบบย่อยดังนี้
1. ระบบจัดหาเงินทุน
2. ระบบจัดการเงินทุน
3. ระบบจัดการเงินลงทุน
4. ระบบจัดการเงินสด

     ระบบประมวลผลธุรกรรมทางการเงิน เป็นระบบพื้นฐานของระบบสารสนเทศทางการเงินโดยเฉพาะในส่วนของการรับ และจ่ายเงินสดภายในธุรกิจทั้งด้านการจัดหาสินทรัพย์การลงทุนและการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายของหน่วยงานต่าง ๆ โดยธุรกิจอาจใช้วิธีการเปิดบัญชีเงินฝากธนาคาร

      ระบบวิเคราะห์ทางการเงินคือระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนงานด้านการวางแผนทางการเงินการจัดหาเงินทุน การจัดสรรเงินทุนและเงินลงทุนต่าง ๆ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดย Turban et al. ได้ยกตัวอย่างรูปแบบการ วิเคราะห์ทางการเงิน 3 รูปแบบคือ

1.  การวิเคราะห์ความเสี่ยง
2.  การวิเคราะห์กำไร
3.  การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน

      ระบบควบคุมทางการเงินคือการที่ธุรกิจไม่สามารถพยากรณ์หรือควบคุมเงินสดให้เพียงพอต่อการใช้งานตลอดจนการ ฉ้อฉล Turban et al ได้จำแนกรูปแบบการควบคุมได้ดังนี้

1.  การควบคุมงบประมาณ
2.  การตรวจสอบ
3.  การบริหารผลการดำเนินงานทางธุรกิจ

เทคโนโลยีทางการเงิน

     โปรแกรมสำเร็จรูปทางการเงินคือซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ประเภทหนึ่งซึ่งถูกพัฒนาขึ้นใช้เฉพาะกับงานด้านการ ประมวลผลธุรกรรมทางการเงินตัวอย่างเช่น
1.  โปรแกรมสำเร็จรูปด้านจัดการทางการเงิน
Turban et al. ได้ยกตัวอย่างโปรแกรมแมส 90 และแมส 200 ซึ่งมีการรวมมอดูลของระบบงานด้านต่าง ๆ เข้าด้วยกันกับมอดูลด้านบัญชีและมอดูลด้านการสื่อสารข้อมูลเพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลเท่าที่จำเป็นระหว่างมอดูล
2.  โปรแกรมสำเร็จรูปด้านงบประมาณ คือ โปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนงานด้านงบประมาณโดยอาจจะ พัฒนาระบบสารสนเทศบนเว็บเพื่อสนับสนุนงานด้านการจัดเตรียมและการควบคุมงบประมาณ
3.  โปรแกรมสำเร็จรูปด้านจัดการค่าใช้จ่ายเดินทางอัตโนมัติ คือ โปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อนำเข้าข้อมูลและประมวล ผลค่าใช้จ่ายการเดินทางและค่าใช้จ่ายด้านการเลี้ยงต้อนรับต่าง ๆ

การนำระบบด้านการเงินประยุกต์ใช้กับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce (Electronic Commerce)

      พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) คือการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในทุกช่องทางที่เป็น อิเล็กทรอนิกส์เช่นการซื้อขายสินค้าและบริการการโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์โทรทัศน์วิทยุหรือ แม้แต่อินเตอร์เน็ตเป็นต้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรโดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง

เทคโนโลยีด้านการรับชำระหนี้

      - บัตรเครดิต คือ การใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งสำหรับชำระหนี้ค่าสินค้าหรือบริการการใช้บัตรเครดิตนี้เป็นผลดี ต่อร้านค้าในกรณีที่สามารถลดความเสี่ยงจากการไม่ได้รับชำระหนี้
     - บัตรเดบิต คือ การใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์อีกรูปแบบหนึ่งซึ่งระบบจะยินยอมให้ร้านค้าโอนเงินจากบัญชีผู้ซื้อเข้าสู่บัญชี ผู้ขายทันทีที่เกิดรายการค้าขึ้น
     - ตู้ไปรษณีย์เช่าอิเล็กทรอนิกส์ วิธีนี้สามารถลดความเสี่ยงจากการรับชำระหนี้และลดระยะเวลาเรียกเก็บเงินได้เป็นอย่างดี
     - เช็คที่ได้รับอัตโนมัติล่วงหน้า อาจนำมาใช้แทนตู้ไปรษณีย์เช่าอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเร่งระยะเวลาเรียกเก็บเงินที่รวดเร็วขึ้น
     - เช็คอิเล็กทรอนิกส์ ทุกครั้งที่มีการรับส่งเช็คอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายจะต้องมีการเข้ารหัสลับและสามารถ สืบหาผู้สั่งโอนเงินหรือตัดบัญชีได้
      - เงินสดอิเล็กทรอนิกส์ ธนาคารหรือสถาบันทางการเงินจะทำการใส่วงเงินสู่กระเป๋าสตางค์อิเล็กทรอนิกส์ของลูกค้า เมื่อใดมีการใช้เงินจะตัดเงินออกจากกระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์นี้
     - การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ ผลดีคือธุรกิจสามารถปรับปรุงการพยากรณ์ทางการเงินและการจัดการเงินสดที่ดีขึ้นได้
     - ระบบธนาคารศูนย์กลาง มักใช้สำหรับธุรกิจที่มีสำนักงานขายกระจายอยู่หลายแห่ง

การทำเหมืองข้อมูลทางการเงิน


       - ระบบเข้าถึงรายงานทางการเงินและเศรษฐกิจ การตัดสินใจของผู้บริหารจะต้องประเมินรายงานทางการเงินและ เศรษฐกิจของโลกปัจจุบันมีการเปิดเว็บไซต์ให้ผู้ลงทุนสามารถใช้เป็นเครื่องมือเข้าถึงข้อมูลทางการเงิน
       - ระบบวิเคราะห์ทางการเงิน สามารถทำได้โดยใช้โปรแกรมแผ่นตารางทำการหรือโปรแกรมสนับสนุนการตัดสินใจที่ เน้นการตัดสินใจทางการเงินโดยเฉพาะหรืออาจมีการใช้ความเป็นจริงเสมือน
       - ระบบบริหารโซ่คุณค่าทางการเงิน คือ พื้นที่อีกด้านหนึ่งของการวิเคราะห์ทางการเงินที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกับ การวิเคราะห์ข้อมูลด้านปฏิบัติการโดยมีการวิเคราะห์ในทุก ๆ หน้าที่งานด้านการเงิน

 

 
เว็บไซต์นี้เป็นส่วนหนึ่งของ รายวิชาโครงการ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี ครูที่ปรึกษา ครูสุดฤดี ประทุมชาติ ปีการศึกษา 2563