Welcome... to Computer in Business
   


ความสำคัญในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานด้านการตลาด

     Laudon and Laudon ได้ให้นิยามไว้ว่า ระบบสารสนเทศทางการตลาด หมายถึง ระบบที่ใช้สนับสนุนกิจกรรมของหน้าที่งานด้านการขายและการตลาด เช่น กระระบุถึงความจำเป็นและความต้องการของลูกค้าการวางแผนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อสนองตอบความจำเป็นและความต้องการนั้น อีกทั้งยังมีการนำระบบสารสนเทศด้านการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) มาใช้เพื่อการติดต่อประสานงานที่ดีกับลูกค้า สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว

หลักการตลาด

     คอตเลอร์ และอาร์มสตรองได้ให้นิยามว่า การตลาด หมายถึง กระบวนการทางสังคมและการจัดการที่มุ่งสนองถึงความจำเป็น และความต้องการให้กับบุคคลและกลุ่มต่าง ๆ โดยอาศัยการสร้างสรรค์ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนค่าและผลิตภัณฑ์ให้กับผู้อื่นสรุปได้ว่าปัจจุบันองค์การธุรกิจมีการใช้ปรัชญาทางการตลาด 2 แนวทาง คือ ปรัชญาด้านการตลาดและปรัชญาด้านการตลาดเพื่อสังคม ซึ่งประกอบด้วยหลักการ 3 ข้อ ดังนี้

1.  จะต้องมีการตอบสนองและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
2.  จะต้องมีการบูรณาการและความร่วมมือของทุกฝ่ายในองค์การ
3.  จะต้องมีการมุ่งเน้นไปที่ผลสำเร็จในระยะยาว และการให้ความสำคัญกับการความจงรักภักดีของลูกค้าที่มีต่อองค์การ

องค์ประกอบทางการตลาด

1.  การแลกเปลี่ยนทางการตลาด คือ การโยกย้ายหรือโอนสิ่งที่จับต้องได้หรือจับต้องไม่ได้
2.  กลยุทธ์ทางการตลาด คือ การกำหนดตลาดเป้าหมายและการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาด เพื่อสนองตอบความต้องการของลูกค้าภายใต้ตลาดเป้าหมาย
3.  กิจกรรมทางการตลาด คือ ต้องกระทำเพื่อการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตไปสู่ลูกค้าคนสุดท้าย
4.  ตำแหน่งงานทางการตลาด คือ การกำหนดตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับการตลาด โดยบางตำแหน่งอาจต้องการความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ
5.  สถาบันทางการตลาด คือ องค์การที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษในกิจกรรมการตลาดเฉพาะทาง โดยองค์การเหล่านี้จะต้องเป็นผู้ช่วยเหลือธุรกิจด้านต่าง ๆ

การส่งมอบค่าเพื่อลูกค้า

1.  การเลือกค่า ในส่วนนี้ต้องทำการวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจถึงความจำเป็นของลูกค้า
2.  การจัดหาค่า ในส่วนนี้องค์การต้องอาศัยกระบวนพัฒนาส่วนประสมการตลาดในส่วนของผลิตภัณฑ์ ราคา และช่องทางการจำหน่าย
3.  การสื่อสารค่า ในส่วนนี้องค์การ ต้องอาศัยกระบวนการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดในส่วนการสื่อสารการตลาดเข้าช่วย เพื่อสื่อสารถึงข้อดีของผลิตภัณฑ์

บทบาททางการตลาด

1.  ช่วยแก้ปัญหาด้านผลการดำเนินงานขององค์การที่ประสบภาวะขาดทุน โดยดำเนินโปรแกรมการตลาด เพื่อสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของผลิตภัณฑ์และบริการ และอาศัยการวิจัยการตลาดเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ
2.  ช่วยแก้ปัญหาด้านการครอบครองส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มขึ้น โดยมีแนวโน้มของการควบรวมบริษัทต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
ทั้งในส่วนธุรกิจประเภทเดียวกัน
3.  ช่วยให้พนักงานที่มีพื้นฐานและประสบการณ์ทางการตลาดประสบผลสำเร็จและมีความก้าวหน้าในอาชีพในฐานะ
ผู้บริหารระดับสูงของกิจการ

สารสนเทศทางการตลาด

     สารสนเทศทางการตลาด หมายถึง สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลของระบบสารสนเทศทางการตลาด ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลและสารสนเทศทั้งจากภายใน และภายนอกองค์การโดยใช้กิจกรรมสนับสนุนทางการตลาดทั้งในส่วนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การจัดจำหน่ายการตั้งราคาผลิตภัณฑ์ การตัดสินใจทางการตลาด การสื่อสารทางการตลาด และการพยากรณ์ยอดขาย

สารสนเทศทางการตลาดสามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

     1.  สารสนเทศเชิงปฏิบัติการ คือ สารสนเทศที่ได้รับจากการปฏิบัติงานด้านการตลาด เพื่อสร้างยอดขายสินค้าให้กับธุรกิจดังนี้
-  สารสนเทศด้านลูกค้า เป็นการจัดเก็บข้อมูลส่วนตัว ประวัติการซื้อสินค้าและบริการตลอดจนความพึงพอใจของลูกค้า การจัดหาสารสนเทศนี้ อาจใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้พนักงานขายสำหรับผู้เป็นลูกค้าเดิม หรือการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยตลาด
-  สารสนเทศด้านการขาย เป็นการจัดเก็บข้อมูลธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการขายสินค้า หรือบริการ โดยอาจเป็นสารสนเทศที่เป็นรายละเอียดการขายรายวัน หรือเป็นรายงานสรุปการขายรายสัปดาห์ รายเดือน หรือรายปีก็ได้
-  สารสนเทศด้านสินค้า เป็นสารสนเทศซึ่งนำเสนอรายละเอียดสินค้าที่มีไว้ขาย โดยมีการเชื่อมโยงข้อมูลสินค้าของระบบสารสนเทศทางการผลิต นำมาใช้ประกอบกับข้อมูลการขาย เพื่อให้ข้อมูลสินค้ากับลูกค้าเป้าหมาย โดยสารสนเทศนี้ อาจจะปรากฏอยู่ในใบรายการสินค้า เว็บไซต์สินค้า หรือหน้าจอโฆษณาเกี่ยวกับสินค้าก็ได้

     2.  สารสนเทศเชิงบริหาร คือ สารสนเทศ ที่ใช้สนับสนุนงานการบริหารการตลาด และการพัฒนาส่วนประสมการตลาด ซึ่งจำแนกประเภทได้ดังนี้
-  สารสนเทศด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ คือ สารสนเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนสภาพวัตถุดิบเป็นสินค้าสำเร็จรูปหรือบริการ
-  สารสนเทศด้านสื่อสารการตลาด คือ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการโฆษณาและส่งเสริมการขายหรือวิธีการสื่อสารการตลาดอื่น ๆ เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของธุรกิจโดยใช้โปรแกรมการโฆษณาหรือส่งเสริมการขายเข้าช่วย
-  สารสนเทศด้านการตั้งราคาสินค้าหรือบริการ คือ สารสนเทศที่ได้จากการวางแผนด้านราคาสินค้าหรือบริการ ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญและมีความซับซ้อนสำหรับการตั้งราคาขายปลีกขายส่งตลอดจนส่วนลดต่าง ๆ และยังต้องอาศัยการวิเคราะห์อุปสงค์ของสินค้าในตลาด
-  สารสนเทศด้านพยากรณ์ยอดขาย คือ สารสนเทศซึ่งบ่งชี้ให้เห็นถึงสินค้าหรือบริการการปฏิบัติงานของพนักงานขาย ตลอดจนพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าที่นำมาซึ่งผลกำไรของธุรกิจ


     3.  สารสนเทศนอกองค์กร คือ สารสนเทศที่ได้มาจากกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ ซึ่งจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
-  สารสนเทศด้านวิจัยการตลาด คือ สารสนเทศที่เก็บรวบรวมได้จากการสำรวจแบบสอบถามการศึกษานำร่องตลอดจนการสัมภาษณ์ โดยใช้โปรแกรมวิจัยตลาดเข้าช่วยในการเก็บรวบรวมวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล

-  สารสนเทศด้านข่าวกรองทางการตลาด คือ สารสนเทศที่จัดเก็บและรวบรวมได้จากสภาพแวดล้อมทางการตลาด โดยเฉพาะข้อมูลของผู้แข่งขัน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายฝ่าย เช่น ลูกค้า พนักงานขาย หรือตัวแทนขาย เป็นต้น

เทคโนโลยีทางการตลาด


1.  โปรแกรมสำเร็จรูปด้านการตลาด คือ ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ประเภทหนึ่งที่วางขายอยู่ในตลาดซอฟต์แวร์ ถูกพัฒนาขึ้นใช้เฉพาะกับงานด้านการตลาด และจำเป็นต้องใช้ร่วมกับระบบจัดการฐานข้อมูล เพื่อสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
2.  นวัตกรรมด้านร้านค้าปลีก ปัจจุบันมีการจัดร้านค้าปลีกรูปแบบใหม่โดยมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยอำนวยความสะดวกด้านการเลือกซื้อสินค้า การตรวจสอบและรับชำระค่าสินค้า ซึ่งเป็นการลดกระบวนการซื้อและลดระยะเวลาการรอคอย
3.  หน่วยขายอัตโนมัติ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขายของพนักงานขาย โดยอยู่ในรูปแบบของการใช้มือถือเคลื่อนที่ที่สามารถใช้เข้าถึงข้อมูลในฐานข้อมูลของบริษัทได้
4.  การใช้งานอินทราเน็ต โดยใช้ในการควบคุมและติดต่อประสานงานในส่วนกิจกรรมขายนอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบคำสั่งซื้อของลูกค้า ข้อมูลการจัดส่งสินค้าและรับชำระเงินตลอดจนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขายผ่านอินทราเน็ตด้วย
5.  การใช้งานอินเทอร์เน็ต ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าบนเว็บ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ณ ที่บ้าน หรือสำนักงานของลูกค้า โดยไม่จำเป็นต้องใช้พนักงานขาย

6.  การทำเหมืองข้อมูลทางการตลาด การทำโกดังข้อมูลร่วมกับสารสนเทศทางการตลาด จะช่วยสร้างชุดเครื่องมือปรับการปฏิบัติการดีเลิศ สำหรับงานด้านการขายและการตลาด สร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันให้ธุรกิจ สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ให้แก่ธุรกิ

 

 
เว็บไซต์นี้เป็นส่วนหนึ่งของ รายวิชาโครงการ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี ครูที่ปรึกษา ครูสุดฤดี ประทุมชาติ ปีการศึกษา 2563