Welcome... to Computer in Business
   


ความสำคัญในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานด้านการผลิต

     คอมพิวเตอร์ช่วยในงานผลิต หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยจัดการกับกระบวนการผลิตในโรงงาน อุตสาหกรรมในปัจจุบันนี้ได้มีการนำเอาระบบอัตโนมัติมาใช้มากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการผลิตตัวอย่างเช่น การนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในการออกแบบและเขียนแบบการนำเอาเครื่องจักรกลอัตโนมัติมาช่วยในการผลิตและ ตรวจสอบคุณภาพเป็นต้นซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้ช่วยทำให้การนำผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าสู่ตลาดผู้บริโภคเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันรวมทั้งเป็นการสร้างภาพลักษณ์ในการเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ลูกค้าและผู้บริโภคในอันที่จะได้รับสินค้าที่มีคุณภาพทัดเทียมกับผู้ประกอบการชั้นนำอื่นๆทั่วโลกซึ่งเทคโนโลยีที่นำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในการออกแบบและการผลิตมีชื่อเรียกว่าเทคโนโลยีทางด้าน CAD / CAM

การนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในการออกแบบและเขียนแบบ

     ชื่อเรียกว่า CAD ย่อมาจากคำว่า Computer Aided Design and Drafting โดยทั่วเป็นการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับงาน 3 ประเภทคือ

-  งานเขียนแบบ
-  งานเขียนวัตถุ 3 มิติ
-  งานทางด้านการสร้างภาพเหมือนจริงทั้งแบบภาพอยู่นิ่งและภาพเคลื่อนไหว

     1.  การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับงานเขียนแบบ เป็นการนำ CAD Technology มาใช้กันอย่างกว้างขวางมากเพราะสามารถใช้ได้กับงานเขียนแบบทุกสาขา

เช่น

-  คำสั่งที่ใช้ในการเขียนรูปทรงพื้นฐานต่าง ๆ เช่น จุด เส้นตรง เส้นโค้ง วงกลม วงรี รูปหลายเหลี่ยม เป็นต้น
-  คำสั่งในการแก้ไข ดัดแปลงรูปร่างของรูปทรงพื้นฐาน เช่น ลบ ตัดยืด มนมุมลบมุม เป็นต้น
-  คำสั่งช่วยให้การทำงานเร็วขึ้น เช่น การเคลื่อนย้าย การคัดลอก การทำสำเนาแบบต่าง ๆ เป็นต้น

     2.  การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับงานเขียนวัตถุ 3 มิติ หมายถึง การเขียนวัตถุ 3 มิติที่แท้จริงขึ้นมาในคอมพิวเตอร์ ซึ่งวัตถุ 3 มิติเหล่านี้ จะเป็นแบบจำลองที่เป็นตัวแทนทางความคิดของผู้ออกแบบที่ต้องการให้สิ่งที่ออกแบบไว้ปรากฏเป็นรูปธรรมมากที่สุด

โดยทั่วไปวัตถุ 3 มิติจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
-  วัตถุ 3 มิติที่มี ที่มีแต่เส้นโครงร่าง
-  วัตถุ 3 มิติที่เป็นทรงตัน
-  วัตถุ 3 มิติที่เป็นพื้นผิว
การเขียนวัตถุ 3 มิติ จะเป็นงานทางวิศวกรรมที่ต้องการผลลัพธ์เป็นรูปร่างลักษณะที่เป็นไปตามจุดประสงค์ในการใช้งานเท่านั้น

     3.  งานทางด้านการสร้างภาพเหมือนจริงทั้งแบบภาพอยู่นิ่งและภาพเคลื่อนไหว สำหรับงานทางศิลปกรรมมีความต้องการมากไปกว่านั้น คือ ต้องการแสดงผลให้วัตถุ 3 มิติมีความเหมือนจริงมากที่สุด ทั้งในด้านรูปร่าง สี ของวัสดุที่ใช้ ลักษณะของพื้นผิวของวัสดรวมทั้งสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เพื่อเพิ่มคุณค่าทางความรู้สึกและช่วยให้จินตนาการของลูกค้า และผู้ออกแบบมีความสอดคล้องกันดังนั้นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยงานด้านนี้
ข้อดีของการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยงานออกแบบ ได้แก่

1.  ลดลงเวลาการทำงาน เนื่องจากในโปรแกรมสามารถบันทึกแบบต่าง ๆ ที่เราเรียกขึ้นมาปรับใช้ได้ทันที ไม่ต้องเขียนขึ้นใหม่
2.  ลดปัญหาความผิดพลาดจากการคำนวณ เนื่องจากในโปรแกรมสามารถคำนวณระยะได้อย่างแม่นยำ
3.  โปรแกรมสามารถจัดภาพให้เป็น 3 มิติ และปรับมุมมองได้ทุกๆด้าน
4.  โปรแกรมให้มีสีสันได้ตามใจผู้ออกแบบ
5.  ผู้ออกแบบสามารถสร้างจินตนาการได้ตามความฝันของตัวเอง

การใช้คอมพิวเตอร์กับงานในระบบการผลิต

เป็นการนำระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยควบคุมกระบวนการผลิต ประกอบด้วย

1.  การวางแผนการผลิต โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมกระบวนการผลิต จะทำโปรแกรมแผนการผลิตในทุกขั้นตอนไว้ โดยแผนการผลิตแต่ละแผนจะกำหนดรายละเอียดดังนี้

1. ปริมาณและคุณลักษณะของวัตถุดิบ
2. ขั้นตอนการทำงานวิธีการทำงาน
3. ระยะเวลาในแต่ละขั้นตอนการผลิต
4. ข้อสังเกตขณะที่กำลังผลิต
5. ลักษณะผลผลิต

2. ควบคุมเครื่องจักร/อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ เป็นโปรแกรมที่สร้างควบคู่กับการทำงานของเครื่องจักรอุปกรณ์ เป็นหน่วยความจำที่สร้างขึ้นเฉพาะควบคุมการทำงานของเครื่องจักร

3.  ตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ โดยองค์การสามารถสามารถสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อบันทึกผลการทดสอบและ เปรียบเทียบผลการทดสอบผลิตภัณฑ์ในงานประกันคุณภาพทำให้การทำงานของฝ่ายประกันคุณภาพ

ระบบสารสนเทศทางการผลิต

     ระบบสารสนเทศทางการผลิต หมายถึง ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนหน้าที่งานด้านการผลิตและการดำเนินงาน ตลอดจนกิจกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับการวางแผน การควบคุมกระบวนการผลิตและการจัดระบบการผลิตของธุรกิจ โดยจำเป็นจะต้องการประมวลผลธุรกรรมด้านการผลิตและการดำเนินงาน

     1.ระบบสารสนเทศทางการผลิต หมายถึง ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนหน้าที่งานด้านการผลิตและการดำเนินงาน ตลอดจนกิจกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับการวางแผน การควบคุมกระบวนการผลิตและการจัดระบบการผลิตของธุรกิจ โดยจำเป็นจะต้องการประมวลผลธุรกรรมด้านการผลิตและการดำเนินงานความยืดหยุ่น นับเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ที่ก่อเกิดผลผลิตในรูปแบบของสินค้าหรือบริการ และจัดแบ่งหน้าที่เป็น 2 ด้าน คือ หน้าที่ด้านการผลิต เน้นความพึงพอใจของลูกค้า หรือ บริการของธุรกิจเป็นหลัก

การจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์

     การจัดการโซ่อุปทาน หมายถึง การกำหนดกระบวนการบูรณาการด้านการวางแผน การจัดหา การผลิต การจัดส่ง และการค้นคืนสินค้า โดยเริ่มตั้งแต่ผู้ขายทุกระดับจนถึงผู้ซื้อทุกระดับ  การจัดการโลจิสติกส์ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการโซ่อุปทาน คือ การวางแผน การปฏิบัติการและการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นถึงประสิทธิผลของการไหลของสินค้า การจัดเก็บสินค้า การบริการและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องตั้งแต่จุดกำเนิดจนถึงจุดบริโภคเพื่อตอบสนอง ความต้องการของลูกค้าความแตกต่างของการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน คือ ในส่วนของขอบเขตการดำเนินงาน การจัดการโลจิสติกส์จะครอบคลุมเฉพาะภายในองค์การแต่การจัดการโซ่อุปทานจะเป็นการบูรณาการงานที่เกี่ยวข้อง ด้านโลจิสติกส์ทั้งภายในและภายนอกองค์การเข้าด้วยกัน

ระบบการผลิตยุคใหม่

1.  ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี คือ แนวคิดทางการผลิตที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นและถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการผลิตแบบโตโยต้า ซึ่งยึดหลักการสำคัญ คือ ผลิตในจำนวนเท่าที่ต้องการในเวลาที่ต้องการและมีการควบคุมสินค้าคงเหลือให้เหลือน้อยที่สุด
2.  ระบบการผลิตแบบลีน เป็นระบบการผลิตที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกว่าทำเกิดมาตรฐานการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูง และมุ่งขจัดความสูญเปล่าอันสืบเนื่องมาจากทั้งด้านคุณภาพ ราคาการจัดส่งสินค้าและบริการแก่ลูกค้า

สารสนเทศการผลิต สามารถจำแนกประเภทได้ 3 ประเภท ดังนี้

1.  สารสนเทศเชิงปฏิบัติการ คือ สารสนเทศที่ได้รับจากการดำเนินงานการผลิตในส่วนต่าง ๆ
2.  สารสนเทศเชิงบริหารคือสารสนเทศที่ใช้สนับสนุนงานการวางแผนและจัดการผลิต
3.  สารสนเทศภายนอกองค์การ คือ สารสนเทศที่ได้จากกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ

กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ มี 5 ระบบ ดังนี้

 1.  ระบบออกแบบการผลิตหน้าที่งานสำคัญของการผลิต คือจะต้องมีการออกแบบการผลิตในแต่ละส่วนที่เกี่ยวข้องก่อนเริ่มงานด้านการวางแผนและการดำเนินการผลิต
2.  ระบบวางแผนการผลิต อาศัยวิธีการวางแผนการผลิตและมีการใช้เทคโนโลยีการผลิตช่วยสนับสนุนหน้าที่งานส่วนต่าง ๆ
3.  ระบบจัดการโลจิสติกส์ด้านการผลิต
4.  ระบบดำเนินงานการผลิต ธุรกิจได้ทำการออกแบบการผลิต วางแผนการผลิต รวมทั้งมีการจัดการโลจิสติกส์ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการผลิตแล้ว ในขั้นต่อมาจะเป็นการดำเนินการผลิตสินค้า เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการจัดการการผลิตและดำเนินงาน ที่มุ่งเน้นถึงการผลิตตามกระบวนการผลิตและตามแผนการผลิตต่าง ๆ ในส่วนการผลิตที่วางไว้
5.  ระบบควบคุมการผลิต จะเน้นถึงการควบคุมให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้โดยใช้สารสนเทศทางการผลิตบางส่วน ระบบควบคุมการผลิตมีส่วนสำคัญ

 

 
เว็บไซต์นี้เป็นส่วนหนึ่งของ รายวิชาโครงการ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี ครูที่ปรึกษา ครูสุดฤดี ประทุมชาติ ปีการศึกษา 2563